วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิจัยทางการศึกษา

จิตวิทยาสำหรับครู

                    หากเราลองมานั่งนึกถึงครูที่เคยอบรมสั่งสอนเรามาในอดีต โดยการตั้งเป้าหมายว่าจะมองหาครูที่เรามีความประทับใจมากที่สุด เราอาจจะพบว่าครูคนนั้นเป็นคนที่เราชอบ ชอบที่จะได้ยินท่านพูด ชอบความเป็นคนอารมณ์ดีเสมอต้นเสมอปลาย ชอบที่ท่านเป็นคนมีความรู้ กว้างขวาง สามารถอธิบายถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของท่านให้เราเกิดความเข้าใจได้โดยไม่ยาก นอกจากนั้นเรายังชอบที่ท่านออกข้อสอบครอบคลุมเนื้อหาที่ท่านสอนโดยมีความไม่ยากหรือ ไม่ง่ายจนเกินไป แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราจะลองนึกย้อนอดีตเพื่อมองหาครูสักคนหนึ่งที่เรา ไม่ชอบ เราก็อาจจะพบว่าครูท่านนั้นเป็นคนที่เราไม่ค่อยชอบอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจาก ความเข้มงวดกวดขัน หรือเป็นคนดุ หรืออาจเป็นเพราะเราฟังท่านอธิบายไม่ค่อยเข้าใจ เรียนกับท่านไม่ค่อยรู้เรื่อง หรืออาจจะเป็นเพราะท่านออกข้อสอบยากเกินไปจนเราทำไม่ได้ หรือไม่ก็ง่ายจนเกินไปจนเราหรือรู้สึกว่าไม่ค่อยสมศักดิ์ศรีของเรานัก ฯลฯ สิ่งที่เป็นปัจจัยแห่งความชอบหรือไม่ชอบของนักเรียนที่มีต่อตัวผู้สอนหรือครูนี้ ถือได้ว่ามีความสำคัญมากต่อการประกอบอาชีพครู ซึ่งควรอย่างยิ่งที่บุคคลผู้ได้ชื่อว่าเป็นครูควรจะทราบและตระหนักในความสำคัญของมัน เพื่อจะได้จัดการกับตัวเองให้เหมาะสม ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มี

ความพร้อมของผู้เรียน

ความพร้อมของผู้เรียนถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในการเรียนการสอน เนื่องจากมันอาจจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้การเรียนการสอนเกิดขึ้นได้โดยง่ายและมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้เรียนไม่ค่อยมีความพร้อมการเรียนการสอนก็จะเกิดขึ้นได้ลำบากขึ้น ยิ่งผู้เรียนมีความพร้อมน้อยมาก การเรียนการสอนก็ยิ่งเกิดขึ้นได้ลำบากมากเช่นกัน ในเมื่อความพร้อมมีอิทธิฤทธิ์ต่อการเรียนการสอนมากเช่นนี้ ผู้ประกอบอาชีพครูจึงจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจธรรมชาติในเรื่องนี้เพื่อที่จะได้สามารถใช้ความพร้อมของผู้เรียนให้เป็นปัจจัยเสริมการเรียนการสอนของครู หรือเรียกว่าเป็นการสร้างโอกาสให้การสอนของตนเองประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ถ้าครูไม่เข้าใจและไม่สามารถใช้ความพร้อมของผู้เรียนให้เป็นประโยชน์ต่อการสอนของตนเองได้แล้ว แทนที่ความพร้อมจะช่วยให้โอกาสแก่ครู มันก็จะก่อให้เกิดวิกฤติแก่ครูขึ้นมาแทน
ความพร้อมในการเรียน หมายถึง สภาวะทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาของ ผู้เรียนที่เอื้อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ดี ความพร้อมเกิดขึ้นได้สองทาง คือ ทางที่หนึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ อันเนื่องจากพัฒนาการทางจิตวิทยาของบุคคล และทางที่สองคือเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของบุคคลนั้น อันเนื่องมากจากการกระทำของตนเองหรือสภาวะแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นจะขออธิบายง่าย ๆ ดังนี้
  1. ความพร้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ความพร้อมชนิดนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการทางจิตวิทยา กล่าวคือ เมื่ออายุมากขึ้น คนก็จะมีสภาวะเปลี่ยนแปลงไปทำให้เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น เช่นเด็กทารกที่อายุไม่เกินสองขวบ ยังพูดไม่ค่อยได้หรือพูดจาไม่ชัดเจน ย่อมไม่สามารถอ่านหนังสือได้ เพียงแต่จะเริ่มจดจำได้ว่า สิ่งใดเรียกว่าอะไร หรือเด็กวัยรุ่นอายุ 17-18 ปี ที่ต่อมเพศทำงานเป็นปกติแล้ว ย่อมมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษามากกว่าเด็กอายุ 10-11 ปี เช่นนี้เป็นต้น
  2. ความพร้อมที่เปลี่ยนแปลงไปชั่วขณะ หมายถึงสภาวะทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา ของบุคคลที่ไม่เป็นปกติ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เป็นไปตามสภาวะทางจิตวิทยาอันเป็นธรรมชาติ เช่น บุคคลที่อดนอนมาเกือบตลอดคืน ย่อมไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ในวันรุ่งขึ้น บุคคลที่ทะเลาะหรือขัดใจกับคนรักอย่างรุนแรงก็ย่อมไม่มีจิตใจที่จะเรียนรู้ทางวิชาการได้ เช่นนี้เป็นต้น ความพร้อมในลักษณะนี้จึงเกิดขึ้นใหม่ได้ หรือถูกทำลายไปได้อยู่ตลอดเวลา
เมื่อเข้าใจเช่นนี้เป็นเบื้องต้นแล้วก็จะได้หันมาพิจารณากันว่า ครู อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยควรจะให้ความสนใจแก่ความพร้อมแบบไหนมากกว่ากัน ก็จะตอบได้โดยไม่ต้องลังเลว่า ต้องให้ความสนใจแก่ความพร้อมที่เปลี่ยนแปลงไปชั่วขณะ หรือเพื่อให้ท่านคุ้นเคยก็อาจพูดด้วยภาษาอังกฤษว่า Temporary readiness ทั้งนี้ก็เพราะว่าโดยปกติเด็ก ๆ ที่เรียนระดับมหาวิทยาลัยมักจะอยู่ในช่วงอายุ 17-24 ปี ซึ่งคนกลุ่มนี้ในทางจิตวิทยาเขาจำแนกไว้ว่าเป็นพวกวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งจะมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา ที่จะเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี นี่พูดกันเฉพาะคนปกตินะครับ ส่วนบุคคลที่ผิดปกติไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา เขาก็จะมีความพร้อมผิดปกติไปด้วย บุคคลที่มีความพิการทางกาย หรือเป็นโรคซึมเศร้าเก็บกด ตลอดจนสติปัญญาสูงหรือต่ำผิดปกติ เขาก็จะมีความพร้อมผิดปกติไปด้วย เมื่อเราทราบชัดเจนว่าตามความปกติ นิสิตนักศึกษา มีความพร้อมแล้วเช่นนี้ เราก็จะให้ความสนใจเฉพาะความพร้อมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ชั่วขณะ
เพราะมันจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเกิดไปเรื่อย ๆ ความพร้อมพวกนี้ก็จำแนกได้เป็นความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาหรือความคิด ซึ่งจะได้กล่าวถึงทีละด้าน ดังต่อไปนี้
  1. ความพร้อมทางด้านร่างกาย ซึ่งหมายถึงความพร้อมอันเกิดจากความเป็นปกติทางร่างกาย เช่น ไม่อดนอน ไม่หิวโหย ไม่เจ็บป่วย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เป็นต้น ความพร้อมของนิสิตนักศึกษา ด้านนี้ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในความดูและของตัวนิสิตนักศึกษาเอง หรือไม่ก็ผู้ปกครอง หรือหอพักนิสิต- นักศึกษา หรืออาจจะเป็นผู้บริหารที่จัดสภาพห้องพัก ห้องเรียนไม่เหมาะสม หรือจัดให้มีอาหารขายไม่เพียงพอกับความต้องการ เหล่านี้เป็นต้น ส่วนครู อาจารย์ผู้สอนจะมีส่วนเกี่ยวข้องไม่มาก นอกเสียจากว่าอาจารย์จะคิดแปลก ๆ เช่น นัดสอนเวลา 23:00 น. ซึ่งนิสิตนักศึกษา ควรจะถึงเวลานอนแล้ว หรือสอนตั้งแต่ 10:00 น. ไปจนถึง 01:00 น. ไม่ยอมพักให้รับประทานอาหารกลางวัน หรือจับไปนั่งเรียนกันกลางสนามที่มีแดดจ้าและลมแรง เช่นนี้เป็นต้น
  2. ความพร้อมทางด้านจิตใจและด้านอารมณ์ เรื่องนี้ครู อาจารย์มีความเกี่ยวข้องมากขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นความรับผิดชอบของนิสิตนักศึกษาอยู่เหมือนเดิม ส่วนที่เกิดมากจากนิสิตนักศึกษาเอง เช่น อารมณ์แปรปรวนเนื่องจากความแปรปรวนของต่อมไร้ท่อภายในตนเอง อารมณ์เศร้าหมองรันทดเช่น การผิดหวังในความรัก อารมณ์ฟุ้งซ่านผิดปกติเพราะมีความรักมากผิดปกติ อารมณ์ซึมเศร้าเพราะทะเลาะกับเพื่อน ๆ ลักษณะเหล่านี้แม้อาจารย์จะไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิด แต่ก็ไม่ควรจะคิดหรือพูดว่า “ฉันไม่เกี่ยว” ทั้งนี้ ก็เพราะว่าอาจารย์สามารถช่วยได้ คิดเสียว่าถึงอย่างไร ๆ เขาก็เป็นลูกศิษย์และเป็นเด็กผู้มีประสบการณ์น้อยกว่าอาจารย์ นอกเสียจากว่าอาจารย์เองก็ยังมีความเป็นเด็กอยู่พอ ๆ กับลูกศิษย์ ก็คงจะช่วยอะไรกันได้ไม่มากนัก แต่ที่ร้ายที่สุดก็คืออาจารย์พวกหนึ่งที่นอกจากจะไม่ช่วยลูกศิษย์ในเรื่องนี้แล้ว ยังกลับทำลายความพร้อมทางด้านจิตใจและด้านอารมณ์ของผู้เรียนเสียเอง วิธีทำลายก็ไม่ลำบากอะไรเลย เช่น การดุด่าว่ากล่าวจนเกินความจำเป็น การแสดงความไม่ศรัทธาในผู้เรียน การดูแคลน (ไม่ถึงกับดูถูกเหยียดหยาม) ผู้เรียน หรือถ้าจะกล่าวง่าย ๆ ก็คือการไม่มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน มันก็เลย ไม่เกิด Teacher friendly ผู้เรียนก็จะขาดความกระตือรือร้นและความสนใจในการเรียนไป
  3. ความพร้อมทางด้านสติปัญญา หมายถึงการมีพื้นฐานทางวิชาการเพียงพอที่จะเรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ทางวิชาการได้ เช่น มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาทางแคลคูลัสเสียก่อนที่จะเรียนรู้การออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ มีความรู้ทางชีววิทยาและเคมีเพียงพอเสียก่อนที่จะเกิดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอาหาร เรียนรู้วิธีคิด วิธีค้นคว้า และได้ฝึกทักษะการคิด การค้นคว้า ก่อนที่เรียนรู้แบบแก้ปัญหา (Problem solving method) เหล่านี้เป็นต้น เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ทราบว่าจะถือเป็นความผิดของใคร หากจะถามนิสิตนักศึกษาเองว่าทำไมเธอจึงเรียนเรื่องนี้ไม่รู้เรื่อง เขาก็คงจะตอบในใจเพราะ ไม่กล้าพูดว่า “ก็เพราะอาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง” ฟังดูค่อนข้างเห็นแก่ตัวและไม่ค่อยฉลาดนัก แต่ถ้าเราจะไปถามอาจารย์บ้างว่า ทำไมลูกศิษย์คุณเขาจึงสอบตกกันมากนัก ครูก็คงจะมีคำตอบมากมาย เช่น พื้นฐานไม่มี ไม่ตั้งใจเรียน ขี้เกียจ เป็นต้น คำตอบเหล่านี้มีนัยซ่อนเร้นอยู่โดยไม่ต้องพูดว่า “ตัวอาจารย์สอนดีแล้วไม่มีอะไรบกพร่องจริง ๆ นะ” ซึ่งถ้าเราจะให้ความเป็นธรรมแก่อาจารย์ผู้สอนเราอาจจะพบว่าเขาสอนดีแล้วจริง ๆ ก็ได้ เพียงแต่ถ้านิสิตนักศึกษามีความพร้อมทางด้านสติปัญญา หรือความพร้อมทางวิชาการเสียหน่อย เขาก็จะเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เองในบางมหาวิทยาลัยเขาจึงมีการทดสอบนิสิตนักศึกษาเพื่อจำแนกความรู้เดิมที่เรียกวันว่า Placement Test ทั้งนี้ จะได้จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมตามความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อที่อาจารย์ผู้สอนจะได้เข้าใจความพร้อมทางสติปัญญาหรือความพร้อมทางวิชาการของ ผู้เรียนนั่นเอง อาจารย์หลายท่านพยายามช่วยนิสิตนักศึกษาในเรื่องนี้ โดยการมอบหมายงานให้ไปอ่านตำราหรือเอกสารมาก่อนแล้วจึงค่อยมาฟังการบรรยาย หรือทำการอภิปรายกันในโอกาสต่อไป หรือก่อนที่จะเริ่มต้นสอนเนื้อหาใหม่ก็ทำการทบทวนเนื้อหาหรือมโนทัศน์ (Concept) ของเนื้อหาเดิมเสียก่อน เพื่อช่วยให้นิสิตนักศึกษาสามารถปะติดปะต่อเนื้อหาและความคิดได้ อาจารย์อีกหลาย ๆ ท่านก็จัดลำดับเนื้อหาอย่างเป็นระบบจากง่าย ๆ ไปสู่ยาก ๆ จาก simple ไปสู่ complex วิธีการเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า อาจารย์เหล่านี้ได้คิดถึงและช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมทางวิชาการหรือสติปัญญาแล้ว
ปัญหาสำคัญของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเรื่องความพร้อมของผู้เรียนก็คือ อาจารย์ผู้สอนมักจะให้เกียรติผู้เรียนหรือลูกศิษย์ของตนเองมากเกินความเป็นจริงโดยการทึกทัก (Assure) เองว่าลูกศิษย์ของตนเองมีความพร้อมในทุกด้านดีอยู่แล้ว ดีมากชนิด “พร้อมเพียบ” ก็แล้วกัน ดังนั้น ในการสอนอาจารย์ก็ทำหน้าที่นำเสนอเนื้อหาสาระหรือความคิดที่จะต้องนำเสนอเป็นสำคัญ ความจริงความคิดเช่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องดีและมีความเป็นปัญญาชนอยู่มาก เพียงแต่ว่าลูกศิษย์ของเราเขาเป็นเพียงปุถุชน และยังมีความเป็นเด็กอยู่มาก เขาจึงไม่ค่อยตระหนักและไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการสร้างความพร้อมให้แก่ตนเองมากนัก เช่น อดนอน ไม่รับประทานอาหารเช้า ไม่อ่านหนังสือ ไม่ทำการบ้าน เท่านี้ยัง ไม่พอยังอุตส่าห์ไปหาเรื่องปวดหัวให้ตนเองอีก เช่น มีคนรักแบบลึกซึ้งทั้ง ๆ ที่พ่อแม่ก็สั่งสอนมาว่าอย่าเพิ่งริรักในวัยเรียน เล่นพนันฟุตบอลจนเกิดหนี้สินรุงรังล้นพ้นตัว ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเขาก็จะมีความพร้อมไม่มากที่จะเรียนรู้ และเมื่อผู้เรียนไม่มีความพร้อมที่จะเรียนรู้เสียแล้ว ไม่ว่าคนสอนจะมีความรู้มากเพียงใด จะนำเสนอเนื้อหาที่มีความสำคัญเช่นไร มันก็จะเกิดผลไม่มาก
อาจารย์บางท่านขัดใจมาก ๆ ถึงกับกล่าวว่าสอน ๆ ไปแล้วก็เหมือนสีซอให้ควายฟัง คือมันไม่ยอมรู้เรื่อง แต่ถ้าจะคิดดูให้ดี ๆ แล้ว อาจารย์ควรพิจารณาเสียก่อนว่าคนที่ท่านกำลังจะสีซอให้ฟังนั้นมันเป็นคนหรือมันเป็นควาย อาจารย์ก็จะไม่ต้องอารมณ์เสียเช่นนี้ ปัญหาก็คือคนสอนก็แยกไม่ค่อยออกว่าคนเรียนเป็นคนหรือควายกันแน่ ไปทึกทักว่าเขาเป็นคน อุตส่าห์นั่งสีซอให้ฟังทั้ง ๆ ที่เขาเป็นควาย ก็ไม่ควรจะไปตำหนิควายมันเลย ลองหันมาให้ความสำคัญต่อเรื่องความพร้อมของผู้เรียนกันดูเถอะครับ แล้วลองช่วยกันสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนเสียก่อนแล้วเราจะพบว่าการสอนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลย พวกครูที่โรงเรียนดี ๆ เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มเก่งแทบจะไม่ต้องสอนอะไรมากนักเลย ทั้งนี้ ก็เพราะนักเรียนมีความพร้อมในการเรียนมากอยู่แล้ว ส่วนครูในโรงเรียนเล็ก ๆ ที่มีนักเรียนไม่ค่อยพร้อมด้วยเหตุต่าง ๆ จะพบกับความยากลำบากในการสอนเป็นอย่างมาก เพราะความพร้อมในตัวผู้เรียนเป็นอุปสรรคในการสอน

ความพร้อมสำหรับครู

เป้าหมายของการรับประทานอาหารของคนเราก็คือความรู้สึกอิ่ม หากได้รับประทานอิ่มคนเราก็จะสบายใจหรือมีความสุข ส่วนเป้าหมายในการป้อนอาหารเด็กทารกก็คล้าย ๆ กัน นั่นคือทำให้เด็กทารกรู้สึกอิ่ม แต่ความยากความง่ายของกิจกรรมรับประทานด้วยตนเองกับการป้อนเด็กทารกนั้นแตกต่างอยู่พอสมควร กล่าวคือ การรับประทานอาหารด้วยตนเองเราย่อมรู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าเราอิ่มแล้วหรือยัง แต่การป้อนเด็กทารกนั้นเราต้องคาดการณ์หรือประเมินเอาว่าเขาอิ่มแล้วหรือยัง
หากเราจะเปรียบเทียบเป้าหมายของการรับประทานอาหารด้วยตนเอง และการป้อนอาหารเด็กทารกกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการสอนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้ จะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันอยู่ ไม่น้อยเลย นั่นก็คือถ้าเราพยายามจะเรียนรู้สิ่งใดด้วยตนเองเราก็จะรู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าเราเกิดการเรียนรู้แล้วหรือยัง แต่ถ้าเราสอนเพื่อให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้เราจะต้องคาดการณ์ หรือประเมินว่าเขาเกิดการเรียนรู้แล้วหรือยัง ความแตกต่างอีกประการหนึ่งระหว่างการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการสอนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้ก็คือ เรารู้ตัวเราดีว่าเราควรจะทำอย่างไร เราชอบอะไร เราเข้าใจหรือไม่เข้าใจอะไร มันก็เลยทำให้การเรียนรู้ด้วยตนเองไม่ค่อยยากนัก (ถ้าเราอยากจะเรียนรู้) แต่ในการสอนผู้อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้นั้น เราไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับคนที่เราสอนมากนัก เช่น ไม่รู้ว่าเขามีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใด ไม่รู้ว่าเขาอยากเรียนรู้หรือไม่ ไม่รู้ว่าเขาอยากเรียนรู้อะไร ไม่รู้ว่าทำอย่างไรเขาจึงจะเกิดการเรียนรู้ และไม่รู้ว่าเขาเกิดการเรียนรู้บ้างแล้วหรือยัง

ถ้าเราหวังผลในการสอนว่าเขาจะต้องเกิดการเรียนรู้จากการสอนของเรา เราก็ต้องรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้เหล่านี้ให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าเราไม่รู้ในสิ่งที่เราควรรู้มากเท่าไร เรายังหวังผลการสอนของเราได้น้อยเท่านั้น
สิ่งที่คนเป็นครูควรจะต้องรู้เป็นเรื่องแรก ก็คือ หลักการสำคัญของการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งหลักการนั้นมีอยู่ 4 ประการดังต่อไปนี้

1. ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (Active Participation) หมายความว่า เมื่อครูสอนนักเรียนก็จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสอนของครูทั้งกายและใจ นักเรียนที่นั่งเหม่อลอยหรือนั่งหลับในขณะที่ครูสอนถือว่าไม่มีส่วนร่วมมากนัก นักเรียนที่ไม่ยอมคิดเมื่อครูถามคำถามก็ถือว่า ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน นักเรียนที่ลอกการบ้านเพื่อนแทนที่จะทำเอง ถือว่ามีส่วนร่วมเหมือนกันแต่ไม่เข้าขั้น active นักเรียนที่เข้าห้องปฏิบัติการแต่ไม่ยอมทำอะไรเองคอยอาศัยแต่เพื่อน ก็ถือว่าไม่มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองผู้หลักผู้ใหญ่สมัยก่อนเขาจึงสอนเด็ก ๆ ว่า “จะต้องเป็นคนเอาตาดู เอาหูฟัง และเอาใจใส่” กับเรื่องรอบ ๆ ตัว จึงจะเฉลียวฉลาดทันคน
เพราะฉะนั้นคำถามสำหรับคนเป็นครูในหลักการข้อนี้ ก็คือ
- ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนเข้าเรียนโดยเอาตาดู เอาหูฟัง และเอาใจใส่
- ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนเข้าห้องปฏิบัติการและลงมือทำการทดลองด้วยตนเอง
    • ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนคิดเมื่อครูถามคำถาม
    • ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนทำการบ้านด้วยตนเอง
ฯลฯ
ครูจำนวนไม่น้อยที่ชอบคิดว่าพฤติกรรมการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังนี้เป็นหน้าที่ของผู้เรียนโดยตรง เพราะครูมีหน้าที่สอนเท่านั้น เข้าทำนองที่ว่า “นี่คือเรื่องของเธอ” “เรื่องของฉันคือสอน เรื่องของเธอคือเรียน” แท้ที่จริงแล้ว ส่วนหนึ่งของการสอนก็คือการทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังนั่นเอง
2. ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน (Gradual approximation) ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ต้องบวกลบเลขเป็นเสียก่อนจึงจะสามารถเรียนรู้การคูณและการหาร คนเราต้องพูดเป็นคำ ๆ ได้เสียก่อนจึงจะสามารถพูดเป็นประโยคได้ หรือต้องเดินให้ได้เสียก่อน แล้วจึงวิ่งค่อยเหยาะ ๆ จากนั้นจึงวิ่งเร็ว ๆ เช่นนี้เป็นต้น ครูที่หวังจะสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้จึงต้อง รู้จักแบ่งเนื้อหา และจัดลำดับเนื้อหาตามความยากง่าย แล้วจึงนำมาสอนทีละขั้นทีละตอนอย่างเหมาะสม
ขอให้สังเกตภาพต่อไปนี้
ทั้งสามภาพนี้คือบันไดที่สร้างความรู้สึกแตกต่างกันให้แก่ผู้ที่จะต้องปีน
ภาพที่ 1 เป็นบันไดที่ผู้ปีนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายมากเพราะปีนตั้งนานก็ไม่ไปถึงไหน
ภาพที่ 2 เป็นบันไดที่ผู้ปีนเกิดความรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงมาก เพราะมันยากมากที่จะปีน ขึ้นไปได้
ภาพที่ 3 เป็นบันไดที่ผู้ปีนสบายใจ เพราะอยู่ในวิสัยที่ทำได้ จึงเกิดความมั่นใจที่จะปีน
การจัดลำดับความยากง่ายของเนื้อหาก็ต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมในทำนองนี้เช่นกัน
3. หลักการที่สามคือ ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป (Immediate feedback) เมื่อนักเรียนได้ทำกิจกรรมตามคำแนะนำหรือคำสั่งของครูไป แล้วเขาก็มักอยากจะ รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้าเขาได้รับข้อมูลย้อนกลับทันการและเหมาะสมเขาก็จะเกิดการเรียนรู้ ที่ดีรวมทั้งเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าเขาไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับหรือต้องคอยเป็นเวลานานจึงจะได้รับเขาจะเกิดการเรียนรู้น้อย และในขณะเดียวกันความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ก็จะมีไม่มาก เพราะฉะนั้นครูจึงควรตระหนักในสิ่งต่อไปนี้
เมื่อเด็กตอบคำถามเขาจะต้องได้รับการบอกกล่าวว่าคำตอบของเขานั้นถูกหรือผิดประการใด
    • เมื่อเด็กการบ้านมาส่ง ครูต้องตรวจ และให้คำแนะนำให้เร็วที่สุด เท่าที่จะเร็วได้
    • เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติทักษะ ครูต้องคอยดูและคอยบอกว่าเขาปฏิบัติได้ถูกต้องแล้วหรือยัง
และสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งที่การให้ข้อมูลย้อนกลับก็คือนอกจากจะต้องไม่ปล่อยให้เนิ่นนานเกินไปแล้ว ครูต้องบอกเขาด้วยว่าสิ่งที่เขาทำนั้น “ถูกต้องอย่างไร” และ “ยังไม่ถูกต้องอย่างไร” ไม่ใช่เพียงแต่บอกว่าถูกหรือผิดเท่านั้น นอกจากนั้น วิธีบอกหรือ Approach ของครูก็ควรจะไม่ทำลายความรู้สึกดี ๆ ของเด็กด้วย เช่น การที่จะบอกว่าคำตอบของเด็กไม่ถูกต้อง อาจจะมีได้หลายวิธี เช่น
    • พูดด้วยหน้าตาบึ้งตึง น้ำเสียงกราดเกรี้ยวว่า “ผิดใช้ไม่ได้”
    • พูดด้วยหน้าตาราบเรียบ เฉยเมยว่า “ผิด”
    • เขียนด้วยเครื่องหมายกากบาทขนาดมหึมาด้วยปากกาสีแดง
    • ไม่เขียนเครื่องหมายผิดแต่เขียนคำอธิบายว่ามันยังไม่ถูกต้องอย่างไรด้วยปากกาหมึกแดงหรือสะท้อนแสง
    • พูดยิ้ม ๆ ด้วยน้ำเสียงแฝงความเมตตาว่า “เกือบใช้ได้แล้ว เพียงแต่เธอลืมหรือสะเพร่าไปนิดเดียวเอง คราวหน้าต้องรอบคอบหน่อยนะ”



ฯลฯ

ครูที่ปรารถนาจะให้กำลังใจเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ก็สามารถเลือกวิธีการให้เหมาะกับอุปนิสัยของเด็กได้ โปรดอย่าลืมว่า
    1. การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก ดีที่สุด
    2. การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงลบ ไม่ค่อยดีนักในแง่จิตวิทยาแต่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
    3. การไม่ให้ข้อมูลย้อนกลับใด ๆ แย่ที่สุด เพราะไม่ช่วยอะไรผู้เรียนเลย
4. หลักการข้อที่สี่ การเสริมแรงหรือให้กำลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)
ผู้เรียนทุกคนไม่ว่าอายุมากหรืออายุน้อย ไม่ว่าหญิงหรือชาย ล้วนต้องการกำลังใจหรือการเสริมแรงเพื่อให้ฟันฝ่าอุปสรรค แสวงหาความรู้ต่อไป ซึ่งการให้กำลังใจของครูอาจจะกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
    • เมื่อเด็กพยายามจะเล่าถึงความสำเร็จในการเรียนรู้ของเราเองให้ครูฟัง ครูก็ควรต้องมีเวลาฟัง
    • เมื่อเด็กมีคำถามและนำมาปรึกษา ครูก็ให้คำปรึกษาด้วยความเต็มใจ
    • เมื่อเด็กทำงานถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ครูก็ชมเชย
    • เมื่อเด็กมีผลงานอยู่ในระดับดีมาก สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ครูก็ยกย่องให้ปรากฏ
    • เมื่อเด็กมีผลงานที่ถูกต้อง แม้ไม่สมบูรณ์แบบ ครูก็ชมเชยในส่วนที่ถูกและชี้แนะในสิ่งที่ผิด



ฯลฯ

การเสริมแรงหรือการให้กำลังใจที่ดีจะต้องมีความพอเหมาะพอสมกับผลงาน คือ ไม่ชมเชยจนเกินความเป็นจริง เพราะจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ แต่ก็ต้องไม่น้อยจนเกินไป เช่น สำหรับเด็ก นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.39 อาจารย์ที่ปรึกษาก็น่าจะพูดชมเชยด้วย เพราะการยิ้ม ๆ อย่างเดียวก็น่าจะน้อยเกินไป แต่สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอาจจะไม่ต้องพูดชมเชยด้วยก็ได้เพราะเขาโตแล้ว
หลักการที่สำคัญในการเรียนรู้ทั้งสี่ประการที่ได้กล่าวมานี้เป็นหลักการเรียนรู้ทั่วไป ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ได้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกวัย จะนำไปใช้กับเด็กเล็ก ๆ 4-5 ขวบ หรือจะนำไปใช้กับนักศึกษาปริญญาเอกอายุ 30-40 ปี ก็ย่อมได้เสมอ หลักการนี้เป็นหลักการที่มีการใช้มาและประสบความสำเร็จตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นหากท่านจะทดลองนำไปใช้ดูบ้าง ก็น่าจะประสบผลสำเร็จได้โดยง่ายเช่นกัน



การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร(Curriculum Development)
     การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ หรือ การปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น

ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า การพัฒนาหลักสูตร ไว้ดังนี้
สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนหลักสูตรว่า
การพัฒนา ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ
•  การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
•  การทำให้เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
       ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่
จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้สามารถอธิบาย สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม

สาเหตุของการทำให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้น สมบูรณ์ สามารถสนองความต้องการของบุคคล และสังคม พื้นฐานด้านต่างๆ ที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องนำมาพิจารณานั้นมีหลายประการ ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นว่าพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรด้านต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตร มี 5 ด้าน ดังนี้


มิติของการพัฒนาหลักสูตร
๑. การวางแผนจัดทำหรือยกร่างหลักสูตร (Curriculum Planning)
         - วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
         - กำหนดจุดมุ่งหมาย
         - กำหนดเนื้อหาและประสบการณ์
         - กำหนดการวัดและประเมินผล
๒. การใช้หลักสูตร (Curriculum Implementation)
         - การผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอน
         - การเตรียมบุคลากร
         - การบริหารหลักสูตร
         - การสอนตามหลักสูตร
๓. การประเมินหลักสูตร ( Curriculum Evaluation)
         - เอกสารหลักสูตร
         - การใช้หลักสูตร
         - สัมฤทธิ์ผลของหลักสูตร
         - หลักสูตรทั้งระบบ
ระดับของหลักสูตร
      ๑. ระดับชาติ
       ๒.ระดับท้องถิ่น

  • ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
  • ระดับกลุ่มโรงเรียน
  • ระดับโรงเรียน
  • ระดับห้องเรียน
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร


Hilda Taba's Model
       ทาบา (Taba) ได้กล่าวถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ตามความเชื่อที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน โดยกำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.  วินิจฉัยความต้องการ : สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม และผู้เรียน
2.  กำหนดจุดมุ่งหมาย : หลังจากได้วินิจฉัยความต้องการของสังคมและผู้เรียนแล้วจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ชัดเจน
3.  คัดเลือกเนื้อหาสาระ : จุดมุ่งหมายที่กำหนด แล้วจะช่วยในการเลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัย ความสามารถของผู้เรียน โดยเนื้อหาต้องมีความเชื่อถือได้ และสำคัญต่อการเรียนรู้
4.  จัดเนื้อหาสาระ : เนื้อหาสาระที่เลือกได้ ยังต้องจัดโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
5.  คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ : ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
6.  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ : ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระและความต่อเนื่อง
7.  กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล : ตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไรเพื่อตรวจสอบผลว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และกำหนดด้วยว่าจะใช้วิธีประเมินผลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร


Saylor & Alexander's Model
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย









สงัด อุทรานันท์ มีความเห็นว่าการพัฒนาหลักสูตรมีความครอบคลุมถึงการร่างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ และการปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วย การใช้หลักสูตรและการประเมินหลักสูตรนั้น เป็นกระบวนการอันหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตร โดยได้จัดลำดับขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้ คือ
1.  การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
2.  การกำหนดจุดมุ่งหมาย
3.  การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระ
4.  การกำหนดมาตรการวัดและการประเมินผล
5.  การนำหลักสูตรไปใช้
6.  การประเมินผลการใช้หลักสูตร
7.  การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
 กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 6 ขั้นดังกล่าว มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1.  การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลทางด้านความต้องการ ความจำเป็นและปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ปรัชญาการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข
2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละรายวิชา ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติมากขึ้น โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม เพื่อให้เป็นพลเมืองดี
3.  การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
4.  การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และมีความชำนาญในการใช้หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร การนิเทศการศึกษา และการบริหารการบริการหลักสูตร ฯลฯ นอกจากนี้ในขั้นนี้ยังครอบคลุมถึงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ก่อนนำไปเผยแพร่ด้วย
5. การประเมินผลหลักสูตร เป็นการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรว่าเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วนั้น ผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ ไปแล้ว มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ การประเมินหลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณค่าสูงขึ้น อันเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การประเมินหลักสูตรควรทำให้ครอบคลุมระบบหลักสูตรทั้งหมด และควรจะประเมินให้ต่อเนื่องกัน ดังนั้นการประเมินหลักสูตร จึงประกอบด้วยการประเมินสิ่งต่อไปนี้ คือ
5.1 การประเมินเอกสาร หลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ว่ามีความเหมาะสมดี และถูกต้องตามหลักการพัฒนาหลักสูตรเพียงใด หากมีสิ่งใดบกพร่องก็จะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขก่อนจะได้นำไปประกาศใช้ในโอกาสต่อไป
5.2 การประเมินการใช้หลักสูตร เป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตร สามารถนำไปใช้ได้ดีในสถานการณ์จริงเพียงใด มีส่วนไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตร โดยมากหากพบข้อบกพร่องในระหว่างการใช้หลักสูตรก็มักได้รับการแก้ไขโดยทันที เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร โดยทั่วไปจะดำเนินการหลังจากได้มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรไปแล้ว การประเมินหลักสูตร ในลักษณะนี้มักจะทำการติดตามความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษาว่าสามารถประสบความสำเร็จในการทำงานเพียงใด
5.4 การประเมินระบบหลักสูตร เป็นการประเมินหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสลับซับซ้อนมาก กล่าวคือ การประเมินระบบหลักสูตรจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้วย เช่น ทรัพยากรที่ต้องใช้ ความสัมพันธ์ของระบบหลักสูตร กับระบบบริหาร โรงเรียน ระบบการจัดการเรียนการสอน และระบบการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นต้น
6.  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากได้ผ่านกระบวนการประเมินผลหลักสูตรแล้ว ซึ่งเมื่อมีการใช้หลักสูตรไประยะหนึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมและสังคม จนทำให้หลักสูตรขาดความเหมาะสม จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงใหม่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการพัฒนาหลักสูตรจะต้องใช้เวลาเป็นปีขึ้นไป ในการเตรียมการ และการดำเนินงานจำเป็นต้องใช้กำลังคน และงบประมาณมากพอสมควร เพื่อจะให้ได้หลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลในการพัฒนาเยาวชนของชาติต่อไป

ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
1.             ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2.             ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการอสนของครูตามแนวหลักสูตร
3.             ปัญหาการจัดอบรมครู
4.             ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5.             ขาดการประสานงานหน้าที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
6.             ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่

วิธีการการพัฒนาหลักสูตร มี  5 วิธีการ
1.             การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.             การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
3.             การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
4.             การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
5.             การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ

ขอใบประกอบวิชาชีพครู

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องรับสมัครทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา ครั้งที่ 7 
       อาศัยอำนาจตามความในประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินความรู้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู พ.ศ. 2549 ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกา พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติคณะอนุกรรมการรับรองความรู้วิชาชีพครู ในการประชุมครั้งที่ 7/2553 วันที่ 13 ตุลาคม 2553 จึงประกาศรับสมัครทดสอบความรู้ในการประกอบวิชาชีพครูทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพครู แต่ไม่มีมาตรฐานความรู้ตามที่กำหนดในข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ส. 2548 ระหว่าง วันที่ 11-22 พฤศจิกายน 2553 ดังนี้

      สมัครได้ที่เว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th
หรือ http://testth.ksp.or.th สำหรับครูไทย

หรือ http://testeng.ksp.or.th สำหรับครูชาวต่างประเทศ

     เป็นการรับสมัครทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู สำหรับผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพครู ทั้งครูชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีมาตรฐานความรู้ไม่ตรงตามที่กำหนด

     คุณสมบัติของผู้ขอรับการทดสอบ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และไม่มีคุณลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
     
     สำหรับมาตรฐานความรู้ครูไทย
สามารถเลือกทดสอบมาตรฐานความรู้ จำนวน 9 มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วย
1) ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู

2) การพัฒนาหลักสูตร
3) การจัดการเรียนรู้
4) จิตวิทยาสำหรับครู
5) การวัดและประเมินผลการศึกษา
6) การบริการจัดการในห้องเรียน
7) การวิจัยทางการศึกษา
8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และ
9) ความเป็นครู

     ส่วนมาตรฐานความรู้ครูชาวต่างประเทศ ประกอบด้วย
มาตรฐานความรู้ 9 ด้าน รวม 4 ฉบับ คือ
ฉบับที่ 1 ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู และนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ฉบับที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการบริหารจัดการในห้องเรียน
ฉบับที่ 3 การวัดและประเมินผลการศึกษา และการวิจัยทางการศึกษา และ

ฉบับที่ 4 จิตวิทยาสำหรับครู และความเป็นครู

     สามารถชำระค่าธรรมเนียมการทดสอบความรู้ได้ตั้งแต่วันที่ 11 – 23 พฤศจิกายน 2553 ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยระบบ Teller Payment และระบบ Corporate Banking โดยค่าธรรมเนียมการทดสอบของครูไทย มาตรฐานละ 300 บาท ส่วนครูชาวต่างประเทศ มาตรฐานละ 1,000 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 30 บาท

   
    ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ภายในวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ทางเว็บไซด์

    ตารางกำหนดการสอบ

    กำหนดทดสอบวันที่ 21 – 23 มกราคม 2554 สถานที่ทดสอบความรู้
ภาคกลาง ณ กรุงเทพมหานคร
ภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น และ
ภาคใต้ ณ จังหวัดสงขลา

     รายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขัน วัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบการสอบจะประกาศให้ทราบทางเว็บไซต์คุรุสภา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มรับรองความรู้ในการประกอบวิชาชีพ สำนักมาตรฐานวิชาชีพ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 4 สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ถนนราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 0 2280 4334 – 8 ต่อ 553 หรือเว็บไซต์ของคุรุสภา


หลักฐานที่ต้องแสดงในการทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา
    1. ใบตรวจสอบข้อมูลการทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา ครั้งที่ ๗ ที่พิมพ์จากอินเตอร์เน็ต
    2.  บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ซึ่งปรากฎเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักชัดเจน
    ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบต้องเตรียมเอกสารหลักฐานตามข้อ 1 และ 2 เท่านั้น ถึงจะมีสิทธิ์เข้าทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภาครั้งนี้ กรณีไม่ได้เตรียมเอกสารหลักฐานตามข้อ 1 และ 2 กรรมการกลางและกรรมการคุมสอบ จะไม่อนุญาตให้เข้าทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภาโดยเด็ดขาด

    เกณฑ์การตัดสินผลการทดสอบความรู้  
    มาตรฐานความรู้ที่ผ่านเกณฑ์  แต่ละมาตรฐานต้องสอบได้ผลคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
   
    การออกหลักฐานการผ่านการทดสอบความรู้
    ผุ้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา  จะได้รับวุฒิบัตรเป็นหลักฐานการรับรองความรู้ตามมาตรฐานที่ผ่านการรับรองแล้ว

      ประกาศ ณ วันที่ ๒๖  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

การบริหารจัดการในชั้นเรียน

การบริหารจัดการในชั้นเรียนตามที่คุรุสภากำหนด ต้องมาสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานที่กำหนดดังนี้

สาระความรู้ตามมาตรฐาน มี 14 หัวข้อดังนี้

1. ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ      8. การประกันคุณภาพการศึกษา
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา                        9. การทำงานเป็นทีม
3. การคิดอย่างเป็นระบบ                          10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร                11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
5. มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร                      12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา 
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร                  13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน                   14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

สมรรถนะตามมาตรฐานมี 5 หัวข้อคือ

แนวคิดทางทฤษฏีการเรียนรู้ที่เป็นแนวทางในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่มคือ
1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม 
                    เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
2) กลุ่มเกสตัลท์ หรือทฤษฏีสนาม หรือทฤษฏีพุทธินิยม
                     เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมี
ความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ
พฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความ
สามารถในการสร้างความสัมพันธ์
3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคม หรือการเรียนรู้ทางสังคม
                     เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ
และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม

ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
 
การบริหารการจัดการในห้องเรียน ( version II )
การ บริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความ สำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการส อน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการจัดการชั้นเรียน
1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอน ก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียน รู้
2. เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการ เรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการ ของมันเองและมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่บทเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่มวิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละ คนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียน
3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
การเตรียมตัวเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ Kounin, J.S. (1970), Doyle and Carter (1984), Gump (1967, 1982), Rosenshine (1980), Doyle (1986), William Glasser (1986) เป็นต้น โดยสรุปการเตรียมเพื่อการบริหารการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ ชัดเจน และจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้ประสานสอดคล้องด้วยความระมัดระวังในระหว่างที่ เกิดการเปลี่ยนคาบสอนในตอนเริ่มต้นและสุดสิ้นการสอน
2. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะพัฒนาระบบในการยึดเหนี่ยวนักเรียนให้รับผิดชอบการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน
3. นอกเหนือจากการจะต้องมีทักษะในการวางแผนและการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้อง ครูก็ยังคงต้องเผชิญกับความยุ่งยากลำบากหรือนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนที่ มักจะก่อกวนมากกว่าจะร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย
4. ครูที่สามารถบริหารจัดการให้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการเข้าไปสอด แทรกแก้ปัญหาโดยทันท่วงทีกับนักเรียนที่สร้างปัญหาและต้องดำเนินการด้วยความ ยุติธรรมด้วย
5. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้ยอมรับในความสำคัญของอิทธิพลระหว่าง บุคคล คนแต่ละคนสามารถจะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ด้วยวิธีการ 5 วิธี คือ
5.1 ความสามารถในการควบคุมและให้รางวัลที่มีค่า
5.2 ความสามารถในการที่จะระงับการให้รางวัล
5.3 ความมีอำนาจโดยกฎหมาย ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติที่มีมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่
5.4 ความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทาง
5.5 ความเป็นผู้มีเสน่ห์ หรือเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีอิทธิพล
6. ครูสามารถจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้ด้วยการยกย่องชมเชย การให้รางวัลและการลงโทษ
7. วิธีการบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นต้นว่า การยืนยันความถูกต้องเกี่ยวกับความประพฤติ ความคาดหวัง เมื่อครูวางแผนกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือพิจารณาว่าจะใช้พื้นที่ในห้องเรียนทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ก็คือ ครูกำลังตัดสินใจครั้งสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำให้เกิดผลต่อระบบบริหาร จัดการชั้นเรียน ในทำนองเดียวกันทุกกลยุทธ์ที่จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สร้างผลผลิต เช่น การช่วยให้ชั้นเรียนพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม สร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และทำให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดเผย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียน

กลุ่มนักจิตวิทยาประเทศเยอรมันนี  เรียกว่านักจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychologist) ประกอบด้วย  โคท์เลอร์ (Kohler) คอฟคา (Koffka) และแวร์ไทมเมอร์ (Wertheimer) เริ่มใน ค.ศ.1912 ได้อธิบายความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวมว่า ส่วนรวมมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย โดยมีแนวคิดหลักว่า "ส่วนรวม (The whole) มีค่ามากกว่าผลรวม (the sum)ของส่วนย่อย (parts)" การเรียนรู้ล้วนเริ่มต้นจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมมาให้ผู้เรียนรับรู้เสียก่อน แล้วจึงแยกแยะให้เรียนรู้ในส่วนย่อย    โดยอาศัยหลักการ 2 ประการ คือ
       1) การรับรู้ 

บุคคลจะรับรู้ภาพ (Figure) เป็นสิ่งสำคัญ ส่วนพื้น( ground) เป็นเพียงส่วนประกอบ
เช่น ในการนั่งเรียนมีสิ่งเร้าหลากหลายทั้งครูผู้สอน เนื้อหาจากคอมพิวเตอร์แสดงผ่านอุปกรณ์ช่วยโปรเจ็คเตอร์ เสียงเพื่อนคุยกัน ความร้อน หรือความง่วง หากผู้เรียนให้ความสนใจเนื้อหาที่ครูนำเสนอผ่านโปรเจ็คเตอร์  เนื้อหาจะเป็นภาพ  เขาจะรับรู้สิ่งต่าง ๆที่ปรากฏผ่านโปรเจ็คเตอร์อย่างชัดเจน สิ่งอื่น ๆ จะเป็นพื้น บางช่วงเวลา ผู้เรียนให้ความสำคัญกับความง่วง  การสอนของครูและสิ่งต่าง ๆ ก็เพียงแต่ผ่านหูผ่านตา ไม่รับรู้รายละเอียด เรียนไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
       2) การหยั่งรู้ หรือการหยั่งเห็น  

 คือการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด  ผู้สามารถเรียนด้วยการหยั่งรู้จะเป็นผู้สามารถมองเห็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ   สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแก้ปัญหา ดังนั้น ความสามารถในการหยั่งรู้ของบุคคลจึงขึ้นกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาที่เกิดขึ้น

หลักการของกลุ่มเกสตัลท์เป็นนักจิตวิทยาพุทธิปัญญานิยมที่เน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการรู้คิดและความสำคัญของผู้เรียน โดยถือว่าการเรียนรู้เป็นผลของการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สิ่งเร้าที่สำคัญคือสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรับรู้ และการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ ผู้เรียนอาจจะเกิดการหยั่งรู้ในการแก้ปัญหาและแก้ปัญหาได้ทันทีโดยไม่ต้องให้แรงเสริม

1. มีภาวะผู้นำ                                    
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน      
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4.สามารถในการประสานประโยชน์ 
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ

การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานและเพิ่มเติม

การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถดำเนินการ ดังนี้
ระดับประถมศึกษา
               สามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องมีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด
ระดับมัธยมศึกษา
                ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร
สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลาสำหรับสาระ การเรียนรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีละ ๑๒๐ ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ จำนวน ๓๖๐ ชั่วโมงนั้น เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลา
ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

ระดับประถมศึกษา (ป.๑-๖) รวม ๖ ปี จำนวน ๖๐ ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) รวม ๓ ปี จำนวน ๔๕ ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-๖) รวม ๓ ปี จำนวน ๖๐ ชั่วโมง