วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การบริหารจัดการในชั้นเรียน

การบริหารจัดการในชั้นเรียนตามที่คุรุสภากำหนด ต้องมาสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานที่กำหนดดังนี้

สาระความรู้ตามมาตรฐาน มี 14 หัวข้อดังนี้

1. ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ      8. การประกันคุณภาพการศึกษา
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา                        9. การทำงานเป็นทีม
3. การคิดอย่างเป็นระบบ                          10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร                11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
5. มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร                      12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา 
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร                  13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน                   14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

สมรรถนะตามมาตรฐานมี 5 หัวข้อคือ

แนวคิดทางทฤษฏีการเรียนรู้ที่เป็นแนวทางในการสร้างชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพเป็น 3 กลุ่มคือ
1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม 
                    เป็นกลุ่มที่ตีความพฤติกรรมมนุษย์ว่า เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (stimulus) และการตอบสนอง (responses) บางทีจึงเรียกว่า การเรียนรู้แบบ SR สิ่งเร้าก็คือ ข่าวสารหรือเนื้อหาวิชาที่ส่งไปให้ผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนโปรแกรมการเรียนการสอนอิงหลักการทฤษฎีนี้มาก โดยจะแยกลำดับขั้นของการเรียนรู้ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และเมื่อผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ก็จะสามารถทราบผลได้ทันที ว่าเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้าตอบสนองถูกต้องจะมีการเสริมแรง โปรแกรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลอิงทฤษฎีนี้มาก
2) กลุ่มเกสตัลท์ หรือทฤษฏีสนาม หรือทฤษฏีพุทธินิยม
                     เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการความรู้ความเข้าใจหรือการรู้คิด อันได้แก่ การรับรู้อย่างมี
ความหมาย ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดกระทำ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ
พฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีนี้ถือว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับคุณภาพของสติปัญญาและความ
สามารถในการสร้างความสัมพันธ์
3) กลุ่มจิตวิทยาทางสังคม หรือการเรียนรู้ทางสังคม
                     เป็นกลุ่มที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทฤษฎีนี้เน้นปัจจัยทางบุคลิกภาพ
และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางสังคม

ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
 
การบริหารการจัดการในห้องเรียน ( version II )
การ บริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความ สำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการส อน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการจัดการชั้นเรียน
1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอน ก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียน รู้
2. เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการ เรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการ ของมันเองและมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่บทเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่มวิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละ คนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียน
3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
การเตรียมตัวเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ Kounin, J.S. (1970), Doyle and Carter (1984), Gump (1967, 1982), Rosenshine (1980), Doyle (1986), William Glasser (1986) เป็นต้น โดยสรุปการเตรียมเพื่อการบริหารการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ ชัดเจน และจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้ประสานสอดคล้องด้วยความระมัดระวังในระหว่างที่ เกิดการเปลี่ยนคาบสอนในตอนเริ่มต้นและสุดสิ้นการสอน
2. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะพัฒนาระบบในการยึดเหนี่ยวนักเรียนให้รับผิดชอบการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน
3. นอกเหนือจากการจะต้องมีทักษะในการวางแผนและการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้อง ครูก็ยังคงต้องเผชิญกับความยุ่งยากลำบากหรือนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนที่ มักจะก่อกวนมากกว่าจะร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย
4. ครูที่สามารถบริหารจัดการให้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการเข้าไปสอด แทรกแก้ปัญหาโดยทันท่วงทีกับนักเรียนที่สร้างปัญหาและต้องดำเนินการด้วยความ ยุติธรรมด้วย
5. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้ยอมรับในความสำคัญของอิทธิพลระหว่าง บุคคล คนแต่ละคนสามารถจะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ด้วยวิธีการ 5 วิธี คือ
5.1 ความสามารถในการควบคุมและให้รางวัลที่มีค่า
5.2 ความสามารถในการที่จะระงับการให้รางวัล
5.3 ความมีอำนาจโดยกฎหมาย ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติที่มีมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่
5.4 ความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทาง
5.5 ความเป็นผู้มีเสน่ห์ หรือเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีอิทธิพล
6. ครูสามารถจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้ด้วยการยกย่องชมเชย การให้รางวัลและการลงโทษ
7. วิธีการบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นต้นว่า การยืนยันความถูกต้องเกี่ยวกับความประพฤติ ความคาดหวัง เมื่อครูวางแผนกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือพิจารณาว่าจะใช้พื้นที่ในห้องเรียนทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ก็คือ ครูกำลังตัดสินใจครั้งสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำให้เกิดผลต่อระบบบริหาร จัดการชั้นเรียน ในทำนองเดียวกันทุกกลยุทธ์ที่จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สร้างผลผลิต เช่น การช่วยให้ชั้นเรียนพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม สร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และทำให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดเผย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียน

กลุ่มนักจิตวิทยาประเทศเยอรมันนี  เรียกว่านักจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychologist) ประกอบด้วย  โคท์เลอร์ (Kohler) คอฟคา (Koffka) และแวร์ไทมเมอร์ (Wertheimer) เริ่มใน ค.ศ.1912 ได้อธิบายความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวมว่า ส่วนรวมมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย โดยมีแนวคิดหลักว่า "ส่วนรวม (The whole) มีค่ามากกว่าผลรวม (the sum)ของส่วนย่อย (parts)" การเรียนรู้ล้วนเริ่มต้นจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมมาให้ผู้เรียนรับรู้เสียก่อน แล้วจึงแยกแยะให้เรียนรู้ในส่วนย่อย    โดยอาศัยหลักการ 2 ประการ คือ
       1) การรับรู้ 

บุคคลจะรับรู้ภาพ (Figure) เป็นสิ่งสำคัญ ส่วนพื้น( ground) เป็นเพียงส่วนประกอบ
เช่น ในการนั่งเรียนมีสิ่งเร้าหลากหลายทั้งครูผู้สอน เนื้อหาจากคอมพิวเตอร์แสดงผ่านอุปกรณ์ช่วยโปรเจ็คเตอร์ เสียงเพื่อนคุยกัน ความร้อน หรือความง่วง หากผู้เรียนให้ความสนใจเนื้อหาที่ครูนำเสนอผ่านโปรเจ็คเตอร์  เนื้อหาจะเป็นภาพ  เขาจะรับรู้สิ่งต่าง ๆที่ปรากฏผ่านโปรเจ็คเตอร์อย่างชัดเจน สิ่งอื่น ๆ จะเป็นพื้น บางช่วงเวลา ผู้เรียนให้ความสำคัญกับความง่วง  การสอนของครูและสิ่งต่าง ๆ ก็เพียงแต่ผ่านหูผ่านตา ไม่รับรู้รายละเอียด เรียนไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
       2) การหยั่งรู้ หรือการหยั่งเห็น  

 คือการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด  ผู้สามารถเรียนด้วยการหยั่งรู้จะเป็นผู้สามารถมองเห็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ   สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแก้ปัญหา ดังนั้น ความสามารถในการหยั่งรู้ของบุคคลจึงขึ้นกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาที่เกิดขึ้น

หลักการของกลุ่มเกสตัลท์เป็นนักจิตวิทยาพุทธิปัญญานิยมที่เน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการรู้คิดและความสำคัญของผู้เรียน โดยถือว่าการเรียนรู้เป็นผลของการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สิ่งเร้าที่สำคัญคือสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรับรู้ และการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ ผู้เรียนอาจจะเกิดการหยั่งรู้ในการแก้ปัญหาและแก้ปัญหาได้ทันทีโดยไม่ต้องให้แรงเสริม

1. มีภาวะผู้นำ                                    
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน      
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4.สามารถในการประสานประโยชน์ 
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น