วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตามหลักสูตรพุทธศักราช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1.             รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2.             ซื่อสัตย์สุจริต
3.             มีวินัย
4.             ใฝ่เรียนรู้
5.             อยู่อย่างพอเพียง
6.             มุ่งมั่นในการทำงาน
7.             รักความเป็นไทย
8.             มีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติม
ให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง
ระดับการศึกษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดระดับการศึกษาเป็น ๓ ระดับ ดังนี้

๑. ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖) .....การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน .....การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน
.....การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ .....การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม .....และวัฒนธรรม โดยเน้น จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

๒ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๓) เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ .....มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง .....ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ .....และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนินชีวิต .....มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม .....มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย .....ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ
๓. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ๖) .....การศึกษาระดับนี้เน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ .....ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ .....มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง .....สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ .....มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น